วันเข้าพรรษา ประจำปี 2557

 ทางหจก.ไทรทองไม้อัด ได้แบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไว้ทำบุญถวายเทียนจำนำพรรษา หลอดไฟฟ้า และสังฆทาน เนื่องด้วยวันเข้าพรรษา ประจำปี 2557

1. วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

2. วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา

3. วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา

4. วัดไชโยวรวิหาร(เกตุไชโย) จ.อ่างทอง

5. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(พระพุทธชินราช) พิษณุโลก

6. วัดนางพญา จ.พิษณุโลก

7. วัดอินทรีย์ ศรีสังวรณ์ จ.สุโขทัย

8. วัดศาลพระแม่ย่า จ.สุโขทัย

9. วัดศรีชุม จ.สุโขทัย

 "ขอให้ลูกค้าและทุกๆท่านได้รับผลบุญนี้ด้วยกันเทอญ!!!"

ประวัติวันเข้าพรรษา

   ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัย ให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพา กันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากัน ติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝนอาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบ ย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตายเมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำ อยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน

 พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไป ค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สา มารถกลับมาในเวลาที่

กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่า พระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำ

พรรษาสามารถ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้อง กลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน

เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น

1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก ๕

    และมารดาบิดา

2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับ สหธรรมิก ๕ 

3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มา ซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น

    สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น

4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์

    ก็จะไปค้างไม่ได้.

    ประเภทของการเข้าพรรษา

    การเข้าพรรษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8

    (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลัง

     จากออกพรรษาแล้วพระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่

     วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดิน ทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้า

    พรรษาแรกในวันแรม1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษา

   ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้

    รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน         

    เครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษา

   โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร

สังฆาฏิ เข็ม บาตรรัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระ

สงฆ์จะ หาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดย

ทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้า

พรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

 ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

 1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพ ทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดิน

ทางจาริก ไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็ก สัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการ

เดินธุดงค์

2.หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือนก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์

ได้หยุดพักผ่อน

3.เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอด

จนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา

4.เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

5.เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็น โอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้

ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่

ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณรที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ

ซ่อมแซม กุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกัน

ที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น

มีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชน

ทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทาน อย่างหนึ่งในการ

ให้ทานด้วยแสงสว่าง อีกทั้งมีการ"ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี

1.ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

2.ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร 

3.ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 

4.อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

5.อยู่กับครอบครัว

       


Visitors: 388,536