ไม้อัดกันน้ำ มอก.

ไม้อัดกันน้ำ ไม้อัดเต็มมิล ไม้อัดมอก.178-2549

ไม้อัดกันน้ำ คือแผ่นไม้อัดที่ผ่านกระบวนการผลิต               ข้อกำหนดและกระบวนการรับรองผลิตภัณฑ์แผ่น             ไม้อัด    มอก. 178-2549    โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)     กระทรวงอุตสาหกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับไม้อัดกันน้ำ

      1. ขอบข่าย

           ครอบคลุมเฉพาะแผ่นไม้บางที่ประกอบกันตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไป

    2. บทนิยาม

         แผ่นไม้อัด หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำไม้บางหลายแผ่นมาประกอบอัดยึดให้ติดกันด้วยกาวลักษณะสำคัญ คือ ประกอบด้วยไม้บางตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไป โดยชั้นที่ติดกันมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกันเพื่อเพิ่มสมบัติทางความแข็งแรง หรือลดการขยายตัวหรือหดตัวในแนวระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด

    3. ประเภท และ ชั้นคุณภาพ

         3.1 ประเภทแบ่งตามกาวที่ใช้

            3.1.1 ประเภทภายนอก

                    ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำ และความร้อนแห้ง ได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ

            3.1.2 ประเภททนความชื้น

                      ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำ ในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับ ใช้ภายในอาคารและภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำเป็นครั้งคราว

             3.1.3 ประเภทภายใน

                      ใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ดีพอสมควร ทนทานในน้ำร้อนได้ ในเวลาจำกัดไม่ทนในน้ำเดือด เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารหรือในที่ซึ่งไม่ถูกน้ำละอองน้ำ

             3.1.4 ประเภทชั่วคราว

                      ใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราว

           3.2 ชั้นคุณภาพ

              แบ่งชั้นคุณภาพตามลักษณะของไม้บางที่ทำเป็นไม้หน้า และไม้หลัง ออกเป็น 4 ชั้นคุณภาพ ตามตารางที่ 1 (มอก.หน้า 4- หน้า 6) อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

    4. ประเภท และ ชั้นคุณภาพ

           4.1 ความหนา ครอบคลุมความหนาตั้งแต่ 2.0 มม. - 25.0 มม. ตามตารางที่2 (หน้า 7) อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม          

         

 

 

 

 

 

 

 

 

                          

 

 

Visitors: 388,483